จิตวิทยาการเรียนการสอน
จิตวิทยา
.....จิตวิทยา ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Psychology มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก 2 คำ คือ Phyche แปลว่า วิญญาณ กับ Logos แปลว่า การศึกษา ตามรูปศัพท์ จิตวิทยาจึงแปลว่า วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับวิญญาณ แต่ในปัจจุบันนี้ จิตวิทยาได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไป ความหมายของจิตวิทยาได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย นั่นคือ จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์
.....จิตวิทยา ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Psychology มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก 2 คำ คือ Phyche แปลว่า วิญญาณ กับ Logos แปลว่า การศึกษา ตามรูปศัพท์ จิตวิทยาจึงแปลว่า วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับวิญญาณ แต่ในปัจจุบันนี้ จิตวิทยาได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไป ความหมายของจิตวิทยาได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย นั่นคือ จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์
ความสำคัญของจิตวิทยา
.....จิตวิทยามีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตอย่างกว้างขวาง ผู้ศึกษาจิตวิทยาสามารถได้รับประโยชน์ดังต่อไปนี้
.....จิตวิทยามีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตอย่างกว้างขวาง ผู้ศึกษาจิตวิทยาสามารถได้รับประโยชน์ดังต่อไปนี้
1.ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ เช่น ความต้องการ การแก้ปัญหา การปรับตัว อารมณ์และความรู่สึกในสถานการณ์ต่างๆ
2.ช่วยในการแก้ปัญหาทางจิต รู้จักวิธีรักษาสุขภาพจิตได้ดี สามารถเอาชนะปมด้อยต่างๆ รู้วิธีแก้ปัญหาและปรับตัวอย่างเหมาะสม ขจัดความขัดแย้งในใจได้และความวิตกกังวลได้
3.สามารถเข้าใจ ตัดสินใจ และมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลในสังคม
4.ช่วยในการวางแผนการใช้ชีวิตได้อย่างเหมาะสม
การจูงใจ
.....การจูงใจ (Motivation) คืออะไร มีผู้ให้คำจำกัดความของการจูงใจไว้ดังนี้
1. การจูงใจ คือขบวนการทางจิตใจที่ผลักดันให้บุคคลแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งจนสำเร็จ และถูกต้องตามแนวทางที่ต้องการ
2. การจูงใจ หมายถึงแรงซึ่งส่งเสริมให้เด็กทำงานจนบรรลุถึงความสำเร็จ และแรงนี้ย่อมนำทางให้เด็กทำงานไปในแนวที่ถูกต้องด้วย
.....การจูงใจ (Motivation) คืออะไร มีผู้ให้คำจำกัดความของการจูงใจไว้ดังนี้
1. การจูงใจ คือขบวนการทางจิตใจที่ผลักดันให้บุคคลแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งจนสำเร็จ และถูกต้องตามแนวทางที่ต้องการ
2. การจูงใจ หมายถึงแรงซึ่งส่งเสริมให้เด็กทำงานจนบรรลุถึงความสำเร็จ และแรงนี้ย่อมนำทางให้เด็กทำงานไปในแนวที่ถูกต้องด้วย
องค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้
.....ดอลลาร์ด และมิลเลอร์ (Dallard and Miller) เสนอว่าการเรียนรู้ มีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ
1.แรงขับ (Drive) เป็นความต้องการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล เป็นความพร้อมที่จะเรียนรู้ของบุคคลทั้งสมอง ระบบประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อ แรงขับและความพร้อมเหล่านี้จะก่อให้เกิดปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมที่จะชักนำไปสู่การเรียนรู้ต่อไป
2.สิ่งเร้า (Stimulus) เป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้บุคคลมีปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมตอบสนองออกมา ในสภาพการเรียนการสอน สิ่งเร้าจะหมายถึงครู กิจกรรมการสอน และอุปกรณ์การสอนต่างๆ ที่ครูนำมาใช้
3.การตอบสนอง (Response) เป็นปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมต่างๆ ที่แสดงออกมาเมื่อบุคคลได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้า ทั้งส่วนที่สังเกตเห็นได้และส่วนที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ เช่น การเคลื่อนไหว ท่าทาง คำพูด การคิด การรับรู้ ความสนใจ และความรู้สึก เป็นต้น
4.การเสริมแรง (Reinforcement) เป็นการให้สิ่งที่มีอิทธิพลต่อบุคคลอันมีผลในการเพิ่มพลังให้เกิดการเชื่อมโยง ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองเพิ่มขึ้น การเสริมแรงมีทั้งทางบวกและทางลบ ซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้ของบุคคลเป็นอันมาก